เมนู

หากว่าเขากล่าวว่า ท่านจงให้สำหรับวัดที่มีภัตบริจาคเป็นประจำของ
ข้าพเจ้า ดังนี้แล้ว ไม่ทันได้สั่งการไปเสีย, แม้สงฆ์จะสงการก็ควร.
ก็แล สงฆ์พึงสั่งการอย่างนี้:-
พึงสั่งว่า ท่านจงให้ในสถานเป็นที่อยู่ของพระสังฆเถระ. ถ้าในที่นั้น.
มีเสนาสนะบริบูรณ์ ในที่ใดเสนาสนะไม่เพียงพอ, พึงให้ในที่นั้น. ถ้าว่า
ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า ในที่อยู่ของข้าพเจ้า ไม่มีของใช้สำหรับเสนาสนะพึงให้
ในที่นั้น.

ถวายแก่สงฆ์


ข้อว่า สงฺฆสฺส เทติ มีความว่า ทายกเข้าไปยังวัดกล่าวว่า ข้าพเจ้า
ถวายจีวรเหล่านั้นแก่สงฆ์.
ข้อว่า สมฺมุขีภูเตน มีความว่า สงฆ์ผู้ทั้งอยู่ในอุปจารสีมา พึงตีระฆัง
ให้ประกาศเวลาแล้วแจกกัน. ภิกษุผู้จะรับส่วนแทนภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสีมาแต่มาไม่
ทัน ไม่ควรห้าม. วัดใหญ่, เมื่อถวายผ้าตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา, พระมหาเถระ
ผู้เฉื่อยช้าย่อมมาภายหลัง, อย่าพึงกล่าวกะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถวาย
ถึงภิกษุมีพรรษา 20 ลำดับของท่าน เลยไปเสียแล้ว, พึงเว้นลำดับไว้ถวาย
แก่พระมหาเถระเหล่านั้น เสร็จแล้วจึงถวายตามลำดับภายหลัง. ภิกษุทั้งหลาย
ได้ฟังข่าวว่า ได้ยินว่า ที่วัดโน้น จีวรเกิดขึ้นมาก จึงพากันมาจากวัดซึ่งตั้ง
อยู่ในระยะโยชน์หนึ่งบ้าง, พึงให้จำเดิมแต่ที่ซึ่งเธอทั้งหลายมาทันแล้ว ๆ เข้า
ลำดับ. เฉพาะที่เธอมาไม่ทันเข้าอุปจารสีมาแล้ว เมื่ออันเตวาสิกเป็นต้นจะ
รับแทน ก็ควรให้แท้. อันเตวาสิกเป็นต้น กล่าวว่า ท่านจงให้แก่ภิกษุผู้ตั้ง
อยู่ภายนอกอุปจารสีมาดังนี้ ไม่พึงให้.
ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ประตูวัดของตน หรืออยู่ภายในวัด ของทนที
เดียว เป็นผู้เนื่องเป็นอันเดียวกับภิกษุทั้งหลายผู้เข้าอุปจารสีมาไซร้, สีมาชื่อว่า

ขยายออกด้วยอำนาจบริษัท, เพราะฉะนั้น ควรให้. แม้เมื่อให้จีวรแก่
สังฆนวกะแล้ว, ก็ควรถวายแก่พระเถระทั้งหลายผู้มาภายหลังเหมือนกัน.
อนึ่ง เมื่อส่วนที่สองได้ยกขึ้นสู่เถรอาสน์แล้ว ส่วนที่หนึ่ง ย่อมไม่ถึง
แก่ภิกษุทั้งหลายทีมาแล้ว, พึงให้ตามลำดับพรรษา ตั้งแต่ส่วนที่สองไป. ถ้า
ในวัดหนึ่ง มีภิกษุ 10 รูป ทายกถวายผ้า 10 ผืนว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์; ผ้า
เหล่านั้น พึงแจกกันรูปละผืน. ถ้าภิกษุเหล่านั้น ถือเอาไปทั้งหมดทีเดียว
ด้วยคิดว่า ผ้าเหล่านั้น ถึงแก่พวกเรา ดังนี้ไซร้, เป็นอันให้ถึง (แก่ตน) ไม่
ดี; ทั้งเป็นอันถือเอาไม่ดี; ผ้าเหล่านั้น ย่อมเป็นของสงฆ์ในที่ซึ่งเธอไปถึง
เข้าแล้วนั่นแล.
อนึ่ง จะชักออกผืนหนึ่ง ถวายแก่สังฆเถระว่า ผืนนี้ถึงแก่ท่าน ดัง
นี้แล้ว ถือเอาผ้าที่เหลือออด้วยคิดว่า ผ้าเหล่านี้ ถึงแก่พวกเรา ดังนี้ ควรอยู่.
ทายกนำผ้ามาผืนเดียว ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายไม่แบ่ง
กัน ถือเอาด้วยคิดว่า ผ้านี้ถึงแก่พวกเรา; ผ้านั้นเป็นอันเธอทั้งหลายให้ถึงแก่
ตน ไม่ชอบ ทั้งเป็นอันถือเอาไม่ชอบ. ควรเอามีดหรือขมิ้นเป็นต้น ทำให้
เป็นรอย ให้ส่วนหนึ่งแก่พระสังฆเถระว่า ตอนนี้ถึงแก่ท่าน แล้วถือเอาส่วน
ที่เหลือว่า ตอนนี้ถึงแก่พวกเรา. จะทำการกำหนดปันกัน ด้วยลายดอกไม้ หรือ
ผลไม้ หรือเครือวัลย์แห่งผ้านั้นเอง ไม่ควร. ถ้าชักเส้นด้ายออกเส้นหนึ่ง
ถวายแก่พระเถระว่า ตอนนี้ ถึงแก่ท่าน แล้วถือเอาว่า ส่วนที่เหลือออถึงแก่พวก
เรา ควรอยู่. ผ้าที่ภิกษุตัดเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แบ่งกัน ควรแท้.
เมื่อจีวรทั้งหลายเกิดขึ้นแก่สงฆ์ในวัค ซึ่งมีภิกษุรูปเดียว หากภิกษุ
นั้น ถือเอาว่า จีวรทั้งหมดย่อมถึงแก่เรา ตามนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่น
เอง, เป็นอันเธอถือเอาชอบ, ส่วนลำดับไม่ดังอยู่. หากเธอยกขึ้นทีละผืน ๆ

ถือเอาว่า ผ้านี้ถึงแก่เรา. ลำดับย่อมตั้งอยู่. บรรดาลำดับที่ไม่ตั้งอยู่ และตั้งอยู่
ทั้งสองนี้ เมื่อลำดับไม่ตั้งอยู่ครั้นจีวรอื่นเกิดขึ้นอีก ถ้าภิกษุรูปหนึ่งมา, เธอ
ทั้งสองพึงตัดตรงกลางถือเอา. เมื่อลำดับตั้งอยู่ ครั้นจีวรอื่นเกิดขึ้นอีก ถ้าภิกษุ
อ่อนกว่ามา, ลำดับย่อมถึงภายหลัง, ถ้าภิกษุผู้แก่กว่ามา, ลำดับย่อมถึงก่อน.
ถ้าไม่มีภิกษุอื่น, พึงให้ถึงแก่ในถือเอาอีก.
แต่จีวรที่เขาถวายพาดพิงถึงสงฆ์ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งว่า
ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ก็ดี ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุสงฆ์ ก็ดี ไม่ควรแก่
ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล, เพราะเหตุที่เธอกล่าวคำว่า ข้าพเจ้างดคหบดีจีวรเสีย,
สมาทานองค์ของผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แต่ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล
เพราะเหตุที่จีวรนั้น เป็นอกัปปิยะหามิได้, แม้ภิกษุสงฆ์อปโลกน์ให้แล้วก็
ไม่ควรรับ. ก็และภิกษุให้จีวรใดซึ่งเป็นของตน, จีวรนั้นชื่อของที่ภิกษุให้
ควรอยู่ แต่ว่าจีวรนั้นไม่เป็นผ้าบังสุกุล. แม้เนื้อเป็นเช่นนั้น, ธุดงค์ย่อม
ไม่เสีย.
อนึ่ง เมื่อทายกถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย, ข้าพเจ้าถวาย
แก่พระเถระทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมควรแม้แก่ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล. แม้จีวรที่ทายก
ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายผ้านี้ แก่สงฆ์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงทำถุงใส่รองเท้า
ถึงบาตร ผ้ารัดเข่าและสายสะพายเป็นต้นด้วยผ้านี้ ดังนี้ ย่อมควร. ผ้าที่ทายก
ถวายเพื่อประโยชน์แก่ถุงบาตรเป็นต้น มีมาก, เป็นของเพียงพอแม้เพื่อประ
โยชน์แก่จีวรจะกระทำจีวรจากผ้านั้นห่ม ก็ควร. ก็หากว่าสงฆ์ตัดผ้าที่เหลือ
จากแจกกันแล้ว แจกให้เพื่อประโยชน์แก่ถุงรองเท้าเป็นต้น, จะถือเอาจากผ้า
นั้นไม่ควร. แต่ผ้านั้นพวกเจ้าของจัดการเองนั้นแลควรอยู่ นอกนั้นไม่ควร.

แม้เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายเพื่อประโยชน์แก่ผ้าผูกกระบอก
กรองเป็นต้น แก่สงฆ์ผู้ถือผ้าบังสุกุล ดังนี้ สมควรถือเอา. ขึ้นชื่อว่าบริขาร
แม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล ก็พึงปรารถนา ในผ้าที่เขาถวายเพื่อให้เป็นผ้าผูกกระ-
บอกกรองเป็นต้นเหล่านั้น ผ้าใดเป็นของเหลือเพื่อ จะน้อมผ้านั้นเข้าในจีวร
บ้าง ก็ควร. ทายกถวายด้วยแก่สงฆ์ ด้วยนั้น แม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล ก็ควร
รับ.
วินิจฉัยในผ้าที่ทายกเข้าไปสู่วัดแล้วถวายว่า ข้าพเจ้าถวายจีวรเหล่านี้
แก่สงฆ์ เท่านี้ก่อน. ก็ถ้าว่า ทายกเห็นภิกษุทั้งหลายผู้เดินทางไปภายนอก
อุปจารสีมาแล้ว บอกแก่พระสังฆเถระ หรือพระสังฆนวกะว่า ข้าพเจ้าถวาย
สงฆ์ แม้ถ้าบริษัทตั้งแผ่ไปโยชน์หนึ่ง เนื่องเป็นอัน เดียวกัน ย่อมถึงแก่ภิกษุ
ทั่วกัน; ฝ่ายภิกษุเหล่าใดไม่ทันบริษัทเพียง 10 ศอก ไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น .

ถวายแก่สงฆ์สองฝ่าย


วินิจฉัยในมาติกาว่า ถวายแก่สงฆ์ 2 ฝ่าย นี้ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ 2 ฝ่าย ก็ดี ถวายแก่สงฆ์โดยส่วน 2
ก็ดี ถวายแก่สงฆ์ 2 พวก ก็ดี กล่าวว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ด้วย แก่ภิกษุณีสงฆ์
ด้วย ก็ดี ผ้านั้นเป็นอันเขาถวายแก่สงฆ์ 2 ฝ่ายแท้.
ข้อว่า อุปฑฺฒํ ทาตพฺพํ มีความว่า พึงทำเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน
ให้ส่วนหนึ่ง. เมื่อเขากล่าวว่า ถวายแก่สงฆ์ 2 ฝ่ายด้วยแก่ท่านด้วย ถ้ามีภิกษุ
10 รูป ภิกษุณี 10 รูป พึงทำให้เป็น 21 ส่วน; ให้แก่บุคคลส่วนหนึ่ง ให้
แก่สงฆ์ 10 ส่วน ให้แก่ภิกษุณีสงฆ์ 10 ส่วน; ส่วนเฉพาะบุคคลอันภิกษุใด
ได้แล้ว ภิกษุนั้น ย่อมได้เพื่อถือเอาตามลำดับพรรษาของตนจากสงฆ์อีก.
เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่เธออันเขารวมเข้าด้วยศัพท์ว่า อุภโตสงฆ์. แม้